ความสำคัญ

ภายใต้การเปลี่ยนแปลงจากพลวัตรที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและต่างประเทศ จากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิตอล ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570) และเพื่อให้สอดคล้องกับ BCG model กับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ ชุมชนท้องถิ่น และสังคมของ ประเทศพร้อมทั้งเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต โดยเน้นความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบวางผังภูมิสถาปัตยกรรมควบคู่ไปกับการปฏิบัติงาน สอดคล้องไปกับแผนพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของมหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ (Organic University) มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) และมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco. University) เพื่อนำองค์ความรู้ดังกล่าวมาพัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืนต่อไป


อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. อาชีพสนับสนุนงานภูมิสถาปัตยกรรมในหน่วยงานราชการและเอกชน
  2. อาชีพนักก่อสร้างภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม
  3. อาชีพที่ปรึกษาทางด้านงานวัสดุและงานก่อสร้างภูมิสถาปัตยกรรม
  4. อาชีพนักวางผังบริเวณและนักออกแบบวางผังชุมชนเมือง
  5. อาชีพนักบริหารโครงการ
  6. อาชีพอาจารย์ ผู้ช่วยนักวิจัย หรือศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา

ปรัชญา

มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการสนับสนุนงานออกแบบวางผังภูมิสถาปัตยกรรมควบคู่ไปกับการปฏิบัติงาน สามารถบูรณาการร่วมกับศาสตร์อื่นเพื่อรังสรรค์สู่งานภูมิสถาปัตยกรรมอย่างยั่งยืนและทันสมัยได้ มีความใฝ่รู้ สู้งาน อดทน คิดเป็น ทำเป็น เน้นการสร้างให้เกิดจิตวิญญาณ และวัฒนธรรม ความรักในการเป็นผู้ประกอบธุรกิจรุ่นใหม่ (Entrepreneur) มีความเป็นผู้นำและสามารถพัฒนาตนเองสู่ความเป็นมืออาชีพได้


วัตถุประสงค์

  1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้นำทางวิชาการในวิชาชีพที่สามารถสนับสนุนงานภูมิสถาปัตยกรรมที่มีจรรยาบรรณ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมภูมิทัศน์ที่มีมาตรฐาน ซึ่งขาดแคลนและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศ
  2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีจิตวิญญาณ และวัฒนธรรม มีความรักในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจอิสระ กล้าลงทุน กล้าเสี่ยงและกล้าประกอบกิจการทางธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจรุ่นใหม่ (Entrepreneur) มีความเป็นผู้นำและสามารถพัฒนาตนเองสู่ความเป็นมืออาชีพ
  3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถบริการวิชาการและสนับสนุนงานด้านภูมิสถาปัตยกรรมเพื่อพัฒนาสังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

แผนพัฒนาหลักสูตร

หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ มีแผนพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรที่ประกอบด้วยแผนการพัฒนาหลักสูตร กลยุทธ์ และตัวบ่งชี้การพัฒนา โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในรอบการศึกษา (5 ปี)

เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

ภาคการศึกษาที่ 1 เดือน มิถุนายน – เดือน กันยายน

ภาคการศึกษาที่ 2 เดือน พฤศจิกายน – เดือน กุมภาพันธ์

หรือให้เป็นไปตามปฏิทินการศึกษาของมหาวิทยาลัยที่ประกาศใช้ในขณะนั้น


คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า ผ่านการสอบคัดเลือกในระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (Thai University Central Admission System: TCAS) หรือ ผ่านการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย
  2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) (สายอาชีพ) หรือประกาศนียบัตรอื่นที่เทียบเท่า ทางด้านเทคโนโลยีภูมิทัศน์ ภูมิสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรม หรือวุฒิอื่นตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ผ่านการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งในกรณีนี้ หลักสูตรมีการจัดการเรียนการสอน โดยแยกนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
    1. กลุ่มของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายสามัญ)
    2. กลุ่มของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากประกาศนียบัตรวิชาชีพ (สายอาชีพ)
  3. เป็นผู้มีคุณสมบัติตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรีตามระเบียบและประกาศอื่น ๆ ของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องโดยอนุโลม
  4. นักศึกษาต่างชาติที่ต้องการเข้าศึกษาต้องผ่านความเห็นชอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร/อาจารย์ประจำหลักสูตร
ปีที่ 1 / ภาคการศึกษาที่ 1
รหัสวิชา ชื่อรายวิชา หน่วยกิต ทฤษฎี ปฏิบัติ ศึกษา
ด้วยตนเอง
-----กลุ่มสังคมและวัฒนธรรม 3---
-----กลุ่มคุณค่าความเป็นมนุษย์และการใช้ชีวิต วิชาที่ 1 (เกษตรเพื่อชีวิต)3---
-----กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร วิชาที่ 1 (ภาษาไทย)3---
11001002เลขะนิเทศ3165
11001018การออกแบบเบื้องต้น3165
11001003ภูมิสถาปัตยกรรมเบื้องต้น3306
รวม18---

ปีที่ 1 / ภาคการศึกษาที่ 2
รหัสวิชา ชื่อรายวิชา หน่วยกิต ทฤษฎี ปฏิบัติ ศึกษา
ด้วยตนเอง
-----กลุ่มคุณค่าความเป็นมนุษย์และการใช้ชีวิต วิชาที่ 23---
-----กลุ่มภาษาและการสื่อสาร วิชาที่ 2 (วิชาภาษาต่างประเทศ)3---
-----กลุ่มการคิดคำนวณ การใช้เหตุผลและเทคโนโลยี3---
11003001การแสดงแบบในงานภูมิสถาปัตยกรรม3144
11003007วัสดุและเทคโนโลยีการก่อสร้างภูมิสถาปัตยกรรม 1 3165
11001006การออกแบบสถาปัตยกรรม5267
รวม20---

ปีที่ 2 / ภาคการศึกษาที่ 1
รหัสวิชา ชื่อรายวิชา หน่วยกิต ทฤษฎี ปฏิบัติ ศึกษา
ด้วยตนเอง
-----กลุ่มภาษาและการสื่อสาร วิชาที่ 3 (วิชาภาษาต่างประเทศ)3---
-----กลุ่มการเป็นผู้ประกอบการ3---
11001020การออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม 1 4267
11003008วัสดุและเทคโนโลยีการก่อสร้างภูมิสถาปัตยกรรม 23165
11001011กลศาสตร์โครงสร้างสำหรับงานสถาปัตยกรรมและงานภูมิทัศน์3235
11003003การสำรวจเพื่องานภูมิทัศน์3235
รวม19---

ปีที่ 2 / ภาคการศึกษาที่ 2
รหัสวิชา ชื่อรายวิชา หน่วยกิต ทฤษฎี ปฏิบัติ ศึกษา
ด้วยตนเอง
-----กลุ่มวิชาเอกเลือก วิชาที่ 13---
11001021การออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม 24267
11001008คอมพิวเตอร์สำหรับงานภูมิสถาปัตยกรรม3235
11003009วัสดุและเทคโนโลยีการก่อสร้างภูมิสถาปัตยกรรม 33165
11001009วัสดุพืชพรรณและการเลือกใช้ 13235
11003002ธรรมชาติวิทยาภูมิทัศน์3225
รวม19---

ปีที่ 3 / ภาคการศึกษาที่ 1
รหัสวิชา ชื่อรายวิชา หน่วยกิต ทฤษฎี ปฏิบัติ ศึกษา
ด้วยตนเอง
-----กลุ่มวิชาเอกเลือก วิชาที่ 23---
11001022การออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม 3426
11003010วัสดุและเทคโนโลยีการก่อสร้างภูมิสถาปัตยกรรม 43165
11001027การออกแบบวางผังพืชพรรณ 13235
11003013การบริหารงานก่อสร้างภูมิทัศน์และการประมาณราคา2204
11001051การสื่อสารในการปฏิบัติวิชาชีพ3225
รวม18---

ปีที่ 3 / ภาคการศึกษาที่ 2
รหัสวิชา ชื่อรายวิชา หน่วยกิต ทฤษฎี ปฏิบัติ ศึกษา
ด้วยตนเอง
-----หมวดวิชาเลือกเสรี วิชาที่ 33---
-----หมวดวิชาเลือกเสรี วิชาที่ 13---
11003004การออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมขั้นสูง4267
11001028การออกแบบวางผังพืชพรรณ 23235
11001038คอมพิวเตอร์ขั้นสูงในงานภูมิสถาปัตยกรรม3235
11003015ปฏิบัติวิชาชีพในงานภูมิสถาปัตยกรรม(7)-200 ชม.-
รวม16---

ปีที่ 4 / ภาคการศึกษาที่ 1
รหัสวิชา ชื่อรายวิชา หน่วยกิต ทฤษฎี ปฏิบัติ ศึกษา
ด้วยตนเอง
-----กลุ่มวิชาเลือกเสรี วิชาที่ 23---
11003012การบริหารจัดการธุรกิจภูมิทัศน์ 2133
11003011เทคโนโลยีการดูแลรักษาพืชพรรณในงานภูมิทัศน์ 3235
11003014กฎหมาย วิชาชีพ และจรรยาบรรณ3306
11003005เตรียมวิทยานิพนธ์2133
รวม13---

ปีที่ 4 / ภาคการศึกษาที่ 2
รหัสวิชา ชื่อรายวิชา หน่วยกิต ทฤษฎี ปฏิบัติ ศึกษา
ด้วยตนเอง
11003006วิทยานิพนธ์90189
รวม9ปฏิบัติไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์

ประธาน
รศ.รมย์ชลีรดา ด่านวันดี
  • daranee@mju.ac.th
  • คุณวุฒิ
    • วท.ม. อุทยานและนันทนาการ
    • ทล.บ. เทคโนโลยีการเกษตรบัณฑิต
รองประธาน
อาจารย์ วรินทร์ กุลินทรประเสริฐ
  • warindesigns@gmail.com
  • คุณวุฒิ
    • วท.บ. นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
    • ภ.สถ.บ. ภูมิสถาปัตยกรรม
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
อ.ดร.ทำเนียบ อุฬารกุล
  • thamniap@mju.ac.th
  • คุณวุฒิ
    • ปร.ด. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง
    • บธ.ม. การจัดการ
    • สถ.ม. การออกแบบชุมชนเมือง
    • ภ.สถ.บ. ภูมิสถาปัตยกรรม
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
อาจารย์ รงรอง วงษ์วาล
  • rongroung@mju.ac.th
  • คุณวุฒิ
    • สถ.ม. สถาปัตยกรรม
    • สถ.บ. สถาปัตยกรรม
เลขานุการ
อาจารย์ พิทักษ์พงศ์ แบ่งทิศ
  • spacearea@hotmail.com
  • คุณวุฒิ
    • วท.ม. การออกแบบและวางแผนสิ่งแวดล้อม
    • ภ.สถ.บ. ภูมิสถาปัตยกรรม
รศ.ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง
  • kriangsa@mju.ac.th
  • คุณวุฒิ
    • D.Sc. Forest Ecology
    • วท.ม. วนศาสตร์
    • วท.ม. วนศาสตร์(เกียรตินิยม)
รศ.ดร.อรทัย มิ่งธิพล
  • orathai@mju.ac.th
  • คุณวุฒิ
    • วท.ด. วนศาสตร์
    • วท.ม. วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
    • ศ.บ. ภูมิศาสตร์
ผศ.ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย
  • yaowanit@mju.ac.th
  • คุณวุฒิ
    • วท.ด. ความหลากหลายทางชีวภาพและชีววิทยาชาติพันธุ์
    • วท.ม. ชีววิทยา
    • วท.บ. เกษตรศาสตร์
ผศ.ดร.ลักษณา สัมมานิธิ
  • luxsana@mju.ac.th
  • คุณวุฒิ
    • ผ.ด. การวางแผนภาคและเมืองการวางผังเมืองภูมิศาสตร์
    • ผ.ม. การวางผังเมือง
    • วท.บ. ภูมิศาสตร์
ผศ.อัจฉรี เหมสันต์
  • augharee@mju.ac.th
  • คุณวุฒิ
    • ผ.ม. การวางผังเมือง
    • ทษ.บ. เทคโนโลยีภูมิทัศน์
อาจารย์ ดร.ปริญญา ปฏิพันธกานต์
  • parinya@mju.ac.th
  • คุณวุฒิ
    • ปร.ด สถาปัตยกรรม
    • ผ.ม. การวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม
    • ทษ.บ. เทคโนโลยีภูมิทัศน์
อาจารย์ สุระพงษ์ เตชะ
  • surapong@mju.ac.th
  • คุณวุฒิ
    • วท.ม. การจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อม
    • ทษ.บ. เทคโนโลยีภูมิทัศน์
อาจารย์ พรทิพย์ จันทร์ราช
  • porntip@mju.ac.th
  • คุณวุฒิ
    • วท.ม. เทคโนโลยีการผลิตพืช
    • วท.บ. เทคโนโลยีการผลิตพืช
อาจารย์ สุปิยา ปัญญาทอง
(ลาศึกษาต่อ)
  • supiya@mju.ac.th
  • คุณวุฒิ
    • ภ.สถ.ม. ภูมิสถาปัตยกรรม
    • สถ.บ. เทคโนโลยีสถาปัตยกรรม
สร้างบ้านแปงเมือง
  • โครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา บุคลากร ศึกษาดูงาน และบริการวิชาการ “สร้างบ้านแปงเมือง” ALA2562@Nan : ออกแบบวางผังภูมิทัศน์ชุมชนแช่แห้ง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
การออกแบบวางผังภูมิทัศน์ระดับเมืองและภาค
  • กิจกรรมการเรียนรู้รายวิชา ภท ๔๒๑ การออกแบบวางผังภูมิทัศน์ระดับเมืองและภาค เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจถึงปรัชญาและแนวความคิดในการออกแบบวางผังเมืองได้อย่างเป็นรูปธรรม สามารถวิเคราะห์ถึงปัญหาของเมือง เพื่อนำเอาหลักการ ไปพัฒนาและปรับปรุงการวาผังภูมิทัศน์ในระดับโครงการ ระดับชุมชน ระดับเมือง และในระดับภาค ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การออกแบบวางผังและการเลือกใช้พืชพรรณ
  • กิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบวางผังและการเลือกใช้พืชพรรณในการออกแบบงานภูมิทัศน์
ภท341วัสดุและเทคนิควิธีการก่อสร้างงานภูมิทัศน์ 3
  • วัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม เช่น วัสดุโครงสร้าง วัสดุพื้นผิวภายในและภายนอกอาคาร ฯลฯ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการตกแต่งภูมิทัศน์ เช่น น้ำพุ น้ำตก วัสดุทดแทน ไม้และหิน มีแนวคิดสร้างสรรค์ในการเลือกใช้วัสดุต่างๆ ให้กลมกลืนกับสภาพธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น หลักพื้นฐานในการประมาณราคาวัสดุก่อสร้างและวัสดุพืชพรรณเบื้องต้น
ปฏิบัติงานก่อสร้างภูมิทัศน์2
  • ทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ จำแนก วิเคราะห์ประเภทและคุณลักษณะของงานก่อสร้างภูมิทัศน์ในมาตราส่วนขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ขึ้น ก่อสร้างชิ้นงานอย่างถูกต้องตรงตามแบบ รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น การแก้ไขปัญหา และเสนอทางเลือกที่เหมาะสม การบริหารจัดการและการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย เรียนรู้กรณีศึกษาทั้งงานภูมิทัศน์ดาดแข็งและดาดอ่อนภายในและภายนอกสถานที่
ปฏิบัติการก่อสร้างงานภูมิทัศน์1
  • ทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ จำแนก วิเคราะห์ประเภทและคุณลักษณะของงานก่อสร้างภูมิทัศน์ในมาตราส่วนขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ก่อสร้างชิ้นงานได้ ถูกต้องตรงตามแบบ รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น การแก้ไขปัญหา และเสนอทางเลือกที่เหมาะสม การบริหารจัดการและการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย เรียนรู้กรณีศึกษาทั้งงานภูมิทัศน์ดาดแข็งและดาดอ่อนภายใน และภายนอกสถานที่

ที่อยู่:

64 หมู่ 4 ถ.เชียงใหม่-พร้าว ต.หนองหาร
อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290

Email:

archmaejo@gmail.com

Facebook:

fb.com/LTMaejo